พระคาร์ดินัลตาเกลกล่าวถึง FABC: ‘พวกเราถูกเรียกให้ประกาศพระวารสารแก่โซเชียลมีเดีย’
โดย : Sr. Bernadette Mary Reis, fsp
จากการปราศรัยของท่านต่อการประชุมสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชียในวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยพระคาร์ดินัล หลุยส์ อันโตนิโอ ตาเกล มุ่งให้ความสำคัญในการอ่านกาลเวลาของโซเชียลมีเดียเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความเห็นอกเห็นใจต่อกัน
พระคาร์ดินัล หลุยส์ อันโตนิโอ ตาเกล ผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปาในการประชุมสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชีย (FABC) กล่าวปราศรัยในการชุมนุมเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยท่านเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอ่านสัญญาณของกาลเวลาในการพัฒนาเยาวชนโดยเน้นถึงสังคม สื่อ และ AI เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อ “การถูกเรียกให้ประกาศพระวรสาร” ของพวกเรา
ท่านได้ย้ำเตือนบรรดาผู้แทนของ FABC ว่า โซเชียลมีเดียได้เป็น “พระพรของโลก” เพราะตั้งแต่โซเชียลมีเดียได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลในปัจจุบันได้ก้าวข้ามขอบเขตของ “กลุ่มชนชั้นสูง” โซเชียลมีเดียช่วยให้พวกเราติดต่อกันได้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด 19 และมีผู้ปกครองหลายคนเริ่มตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทั้ง “อาจารย์และครูคำสอน” ได้เช่นกัน
มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลง
ท่านอธิบายว่า “พวกเรากำลังถูกร้องขอให้เอาใจใส่เพราะการใช้โซเชียลมีเดียทำให้มุมมองของเราที่มีต่อเพื่อนมนุษย์เปลี่ยนไปในทางที่ละเอียดอ่อน” ผลกระทบเหล่านี้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเราและ “การมีส่วนร่วมในการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงของสังคม”
ขอบคุณสำหรับ AI พระคาร์ดินัลกล่าวว่า “AI ได้ทำงานของมนุษย์” แต่ก็ทำให้ในบางแง่มุมงานของมนุษย์ล้าสมัยลง การตรวจสอบการสะกดโดยเทคโนโลยีได้เข้ามาแทนที่ความสามารถในการสะกดคำและโครงสร้างประโยคเรื่องไวยากรณ์ เครื่องคิดเลขทางคณิตศาสตร์ของเรา มีการพิมพ์อักษรที่ทำให้การเขียนด้วยลายมืออ่านยากขึ้นและอาจจะสูญหายไปได้ ดังนั้นพระคาร์ดินัลมีคำถามเกี่ยวกับ “การไม่รู้หนังสือรูปแบบใหม่” นำไปสู่ “การด้อยพัฒนา” ที่นำไปสู่ความเป็นไปได้ที่การคิดอย่างมีวิจารณญาณจะสูญหายไป
ในเรื่องของความสัมพันธ์ของเยาวชนกับโซเชียลมีเดีย พระคาร์ดินัล ตาเกล ได้แบ่งปันข้อมูลบางส่วนที่ได้จากการสำรวจที่จัดทำโดย Gravissimum educationis คำถามแรกคือ บรรดาเยาวชนมองตัวเองอย่างไร มองพวกเราอย่างอย่างไร และเรามองพวกเขาอย่างไร
เรื่องที่เกี่ยวกับ “ฉัน” “ตัวตนที่ปรากฏ [ในการศึกษา] เป็นภาพลวงตาของความพึงพอใจในตนเอง ความพึงพอใจในตนเองที่เป็นภาพลวงตา” ที่มาของภาพลวงตานี้มาจากคำยืนยันที่ได้รับจากภาพถ่ายที่โพสต์ ว่ารูปแบบของการแสดงออก – เราต้องโฆษณาตัวเอง” ถึงขั้นโพสต์ภาพยั่วยุปลุกกระตุ้นความสนใจให้ทุกคนเข้ามาดู “จะมีคนกดไลค์ฉันกี่คน” เพื่อรับยอดไลค์ “จากบรรดาแวดดวงของพวกเขาอยู่เสมอ” ซึ่งสิ่งเหล่านี้นำไปสู่การบังคับ พระคาร์ดินัลตั้งข้อสังเกตว่า “โซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือสำหรับสิ่งเหล่านี้ ที่เรียกว่าการพึงพอใจตนเองแบบลวงตา” แล้วบรรดาเยาวชนสร้างโลกร่วมกับผู้ที่ “กดไลค์หรือชื่นชอบ” พวกเขา ขจัดบรรดาผู้ที่ไม่ “ชื่นชอบ” พวกเขาออกไป
ในแนวทางนี้ ฝูงชนจะชุมนุมกันโดยไม่ต้องปรากฏตัวอยู่จริง บรรดาผู้ที่ชุมนุมคิดว่ากำลังชุมนุมกันอยู่ แต่พวกเขาแค่กำลังรวมตัว “การชุมนุม จึงหมายถึง การมีจิตใจภายในเดียวกัน และฝูงชนสามารถรวมตัวกันได้โดยไม่มีจิตใจเดียวกัน” ท่านกล่าวจากการสำรวจที่กล่าวข้างต้นว่า “พวกเราขาดสิ่งที่จะทำให้เราสามารถลงมือปฏิบัติทำงานร่วมกันได้” เรายังคงเป็น “ปัจเจกบุคคล” แม้ว่าจะเรายืนอยู่ต่อหน้าผู้อื่น ไม่ใช่กลุ่มผู้คนที่จะบ่งบอกถึงลักษณะของสังคมปัจจุบันอีกต่อไป แต่เป็นความเหงา เพราะ “การมีจิตใจเดียวภายในที่ทำให้เรากลายเป็นชุมชนที่รวมตัวกัน”
พระคาร์ดินัลตาเกล กล่าวว่ายังมีการตั้งข้อสังเกตอีกว่า ผู้คนมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น แต่ “พวกเราไม่สนใจและสนใจคนอื่นน้อยลงไปเรื่อย ๆ แม้ว่าพวกเราจะเชื่อมต่อกันมากขึ้นก็ตาม พวกเราไม่ได้สื่อสารกันมากขึ้นเลย” สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การขาดความเห็นอกเห็นใจต่อบรรดาผู้อื่นต่อบรรดาผู้ที่เราไม่รู้จัก ต่อบรรดา “พวกเขา” ในทางกลับกัน โซเชียลมีเดียทำให้เกิดการแสวงหาความจริงใจแค่เพียงในหมู่เพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ ของพวกเราเท่านั้น
พระคาร์ดินัลตาเกลเตือนบรรดาผู้ร่วมประชุมว่าสิ่งเหล่านี้เป็นกระแสในหมู่เยาวชนโดยทั่วไปและอาจจะไม่เป็นความจริงสำหรับบรรดาเยาวชนทุกคน อย่างไรก็ตาม นี่คือ “โลกที่ [บรรดาเยาวชน] ได้เรียนรู้ที่จะต้องอาศัยอยู่” ซึ่งส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างละเอียดอ่อนในทิศทางนี้ของบรรดาผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดีย หากคนอื่นไม่ชอบฉัน “ฉันไม่สน… ฉันจะสนใจพวกเขาเฉพาะพวกที่เข้าร่วมในกลุ่มแวดวงของฉัน” เพราะผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มแวดวงของฉันอาจ “มารวบกวนความพึงพอใจของฉัน”
ความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนและโซเชียลมีเดียเป็นกรอบประเด็นที่สองของพระคาร์ดินัล เนื่องจากพระศาสนจักรมีส่วนร่วมในงานอภิบาลอบรมให้การศึกษา การศึกษาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการติดต่อสื่อสารกับเยาวชน ท่านจึงตั้งข้อสังเกตว่า บรรดาเยาวชนจำนวนมากในปัจจุบันขาดการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความเห็นอกเห็นใจกันเนื่องจากการใช้เทคโนโลยี นักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยาได้แสดงให้เห็นด้วยว่าเป็นผลให้บรรดาเยาวชนจำนวนมากไม่สามารถอ่านได้อีกต่อไป พระคาร์ดินัลกล่าวอีกว่า “เราอาจคิดว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือภายนอก” พระคาร์ดินัลตั้งข้อสังเกตว่า “แต่สิ่งเหล่านั้นได้เปลี่ยนมโนธรรมจิตสำนึกของพวกเขาไป”
พระคาร์ดินัลรายงานว่า นักวิจัยบางคนตั้งข้อสังเกตว่าการอ่านไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่เป็นการเอาตัวรอดที่เกิดขึ้น ผู้คนทั่วโลกรู้จักความหลากหลายของอาหารและน้ำ แต่ว่าจะต้องเรียนรู้จักอักษร การอ่านเป็นทักษะที่ได้มาซึ่งสมองของเราและความสามารถในการวิเคราะห์และการไตร่ตรองของสติปัญญา พระคาร์ดินัลอธิบายว่า การเรียนรู้ทางดิจิทัลด้วยการดึงข้อมูลหน่วยความจำอย่างรวดเร็วนำไปสู่การสูญเสียความแตกต่างเล็กๆน้อยๆและความซับซ้อน มนุษย์จะได้รับความเห็นอกเห็นใจเมื่อเราเข้าถึงอย่างลึกซึ้งจากการอ่านนวนิยาย เราได้รับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเมื่อเราเผชิญหน้ากับความคิดของเราเองกับผู้ที่เป็นนักประพันธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการดูเนื้อหาที่เป็นภาพ
หากพวกเราไม่เข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในการพัฒนาเยาวชนของพวกเราก็จะส่งผลให้อนาคตของคนที่ไม่รู้จักการคิดอย่างมีวิจารณญาณและกลายเป็น “ยุคที่ไม่มีความเห็นอกเห็นใจ” เมื่อนำมาประยุกต์สิ่งเหล่านี้ใช้กับโรงเรียนของเรา พระคาร์ดินัลถามผู้ร่วมว่า “การอ่านได้รับความสนใจตามที่สมควรจะได้รับหรือไม่” ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็จะ “ส่งผลกระทบต่อรูปแบบของสังคม” ในอนาคต พระคาร์ดินัลถามผู้ร่วมประชุม FABC ว่า “เราจะพัฒนาพลเมืองที่พัฒนาความชาญฉลาดทางสติปัญญาควบคู่ไปกับความเห็นอกเห็นใจต่อบรรดาผู้ที่พวกเขาไม่รู้จักได้หรือไม่”
ด้วยเหตุนี้ พระคาร์ดินัลตาเกลจึงกล่าวสรุปว่า แรงจูงใจสำหรับการประกาศข่าวดีแก่โซเชียลมีเดียมีอยู่ในตัวของโซเชียลมีเดียเอง เนื่องจากโซเชียลมีเดียนั้นอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในโลกของเรา
ที่มา: https://www.vaticannews.va/…/cardinal-tagle-fabc…